วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 15 21/11/2015





Knowledge

อาจารย์ให้ออกไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558

Science in traditional toys ของเล่นภูมิปัญญา

               เราไม่อาจทราบได้ว่าของเล่นในยุคดึกดำบรรพ์แบบแรกๆ คืออะไร และใครเป็นผู้คิดทำขึ้น ประวัติความเป็นมาที่พอจะทราบได้  ก็ได้จากอารยธรรมที่หลงเหลืออยู่ของชาวอียิปต์โบราณ
             - ลูกบอลและลูกข่างอียิปต์โบราณมีอายุราว 1250 ปีก่อนคริสตศักราช
             - ตุ๊กตาเสือจากเมืองทีฟส์ อายุประมาณ 1000 ปีก่อนคริสกาล ตาทำด้วยแก้ว ฟันทำด้วยสำริด และปากเปิด ปิดได้
             - ภาพเขียนจีนในตอนต้นของศตวรรษที่ 19 แสดงให้เห็นว่าการเล่นว่าวที่เป็นทั้งของเล่นเด็กและการพักผ่อนในยามว่างของผู้ใหญ่
             - หมีเทดดี้แบร์ตัวแรก สูงประมาณ 7 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อ ค.. 1907
                 - ตุ๊กตา ลูกบอลและตัวหมากที่มีอายุระหว่าง 1250 – 1000 ปีก่อนคริสกาล
             - รถม้าทำด้วยดินเคลือบจากกรีซ อายุประมาณ 500 ปีก่อนคริสกาล
             - ภาพจากต้นฉบับภาษาเยอรมันปีค.. 1405 แสดงให้เห็นชายหนุ่มกำลังเล่นว่าวบนหลังม้า

ของเล่นกับเด็กไทย (Thai Toys)
           ของเล่นของไทยมีอายุเป็นร้อยปี มีของเล่นหลายชนิด เช่น รูปสัตว์ต่างๆ ทำจากหินและดินเผา  เคลือบน้ำเคลือบเป็นของเล่นในสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยามีของเล่นดินเผาที่ไม่มีการเคลือบ มีรูปร่างสัตว์ต่างๆ และรูปเด็กหญิง-ชายกำลังอุ้มไก่เล่น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ของเล่นสำหรับเด็กไทยมีความหลากหลายในวัสดุและรูปแบบของการเล่น เช่น ตัวตลกเป็นดินเผา ดิบๆ ดำๆ มีแกนตรงหัว เมื่อตุ๊กตาโดนแขย่าหัวจะสั่นไปมาได้

เล่นเพื่อการเรียนรู้ (Learning through Play)
ของเล่นคือ
ของที่มีไว้ใช้ในการเล่น เพื่อความสนุกสนาน
และเพลิดเพลิน ของเล่นมีประโยชน์
ทำให้เกิดจินตนาการ ฝึกสมอง
ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้น

พัฒนาการต่างๆ ของร่างกาย

ลูกข่างหมุนและตั้งได้อย่างไร? (What Keeps Spinning Tops Upright?)




                     ปั่นลูกข่างด้วยมือหรือใช้เชือกเหวี่ยงลูกข่างหมุนที่แกนกลางขนาดเล็ก ตัวลูกข่างจึงมีน้ำหนักมาก ทำให้มีความเฉื่อย จึงหมุนได้นานและขณะหมุนเกิดแรงที่ตั้งฉากกับทิศทางการหมุนจึงทำให้ลูกข่างทรงตัวอยู่ได้
ทำไมลูกข่างจึงหยุดหมุน? (Why Does A Spinning Top Stop?)
                      การที่ลูกข่างหยุดหมุนเกิดจากแรงต้านอากาศในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุน แรงเสียดทานของพื้นกับปลายลูกข่าง และแรงดึงดูดของโลก 3 แรงนี้ทำให้ลูกข่างหมุนช้าลงจนหยุดหมุนในที่สุด


เล่นไปทำไม? (Why  playing is important?)
            นักวิชาการและนักปรัชญาหลายท่านได้เคยได้คำนิยามการเล่นไว้ว่า
     
Albert Einstein (อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์) นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า
                                      “…จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้…”
        
Sigmund Freud (ซิกมันด์ ฟรอยด์) ปรมาจารย์ด้านจิตวิเคราะห์
                 “…การเล่นเพื่อให้เด็กได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ หรือความรู้สึกอันไม่ดีต่างๆ ออกมาในทางที่สังคมยอมรับ เพื่อช่วยให้พวกเขาชนะความกลัว…”



เล่นแล้วได้อะไร? (Building Skills with Toys)

การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการในทุกๆด้าน ซึ่งให้เด็กพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ของชีวิต ได้แก่
1. ด้านร่างกาย  การเล่นเป็นการออกกำลังกายอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนากล้ามเนื้อ
2. ด้านจิตใจและอารมณ์  การเล่นทำให้เด็กเกิดจินตนาการ รู้จักคิดและแก้ปัญหาเกิดความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนานและผ่อนคลาย
3. ด้านสังคม  การเล่นกับผู้อื่น จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ผู้คนรอบข้าง รู้จักการแบ่งปัน รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคม
4. ด้านภาษา  เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่น ความสามารถด้านภาษาและการสื่อสารจะถูกพัฒนา
5. ด้านการเรียนรู้  การเล่นแต่ละแบบจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในทักษะที่แตกต่างกันไป ของเล่นบางอย่างฝึกความสามารถด้านการเคลื่อนไหว ในทางกลับกันบางอย่างอาจฝึกในเรื่องของภาษา


ทรัพยากรในการทำของเล่น (Material)


        ส่วนมากจะเป็นวัสดุรอบตัวที่สามารถหาได้ในบริเวณท้องถิ่น มาผสมผสานกับจินตนาการ ผลิตออกมาเป็นของเล่น
   - ผลผลิตจากมะพร้าว (Products from coconut) เช่น ทางมะพร้าว  ใบมะพร้าว  กาบมะพร้าว และกะลามะพร้าว นำมาทำเดินกะลา รถลากกาบมะพร้าว เป็นต้น
  - ไม้ (Wood)  เช่น ไม้มะค่า ประดู่ไม้แดง ไม้ชิงชัน ไม้มะขาม และไม้มะม่วง นำมาแกะเป็นรูปสัตว์ หรือนำมาแกะเป็นลูกข่าง เป็นต้น
  - ไม้ไผ่ (Bamboo) เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ซาง และไผ่บง นำมาทำไม้โถกเถก และว่าว เป็นต้น
  - ผลผลิตจากต้นกล้วย (Products from banana tree)  เช่น ลำต้นกล้วย ใบกล้วย  ทางกล้วย  และเชือกกล้วย  นำมาทำ ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย เป็นต้น
  - เมล็ดของต้นไม้ในท้องถิ่น (Local tree seeds)  เช่น ลูกสะบ้า ลูกยาง ลูกยางนา เมล็ดมะม่วงกะล่อน และเมล็ดกระหล่ำตาแดง นำมาทำลูกข่าง ลูกยางนำมาทำโยนให้หมุนเป็นเกรียว เป็นต้น


เครื่องมือ (Tools and  laborsaving  devices)
                 เครื่องมือที่ใช้ในการทำของเล่นส่วนใหญ่ก็คือเครื่องมือหัตถกรรม เช่น มีดชนิดต่างๆ เลื่อยและเหล็กแหลมที่จะช่วยทุ่นแรงในการทำของเล่น ซึ่งต้องอาศัยฝีมือความประณีต และจินตนาการในการสร้างสรรค์ของเล่นภูมิปัญญาไทย

ความคิดสร้างสรรค์จากการเล่น (Creativity and Play)
                  ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเกินความสามารถที่จะมีได้ แต่เป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความอยากรู้และการลงมือกระทำ เช่น การเล่นของเล่นสามารถสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
ความคิดสร้างสรรค์ของคนเรามีหลายระดับ  เช่น
1. การใช้จินตนาการเพื่อถ่ายทอดหรือแสดงความคิดความรู้สึกของตน เช่น การวาดภาพ
2. การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ หรือสิ่งที่กำหนดให้ เช่น ให้ทำกระเป๋าจากเศษกระดาษ ทำกรงนกจากเถาวัลย์ การคิดเมนูอาหารใหม่ๆ ฯลฯ
3. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดนวัตกรรมที่ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบและมีการทดลอง เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น เตาไมโครเวฟ รถยนต์
4. การสร้างสรรค์หลักการแนวคิดใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างต่างๆ ต้องใช้ทักษะการคิดที่เป็นระบบและซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบการสื่อสารการบินหรือการเดินทางไปสู่อวกาศ


เสียงจากพงไพร


ทำไมแค่เหวี่ยงจักจั่นจึงเกิดเสียง? (How does the sound of Cicada Toy occer?)
                        เสียงของจักจั่นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่เสียดสีกับยางสนปลายแกนไม้ส่งต่อไปยังแผ่นกระดาษ แล้วทำให้อากาศภายในกระบอกที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียง (Soundding Board) สั่นด้วยความถี่ที่เท่ากันกับการสั่นของเชือก
เสียงจะเป็นอย่างไร
* ถ้าไม่มีกระบอก
* ถ้ากระบอกขนาดต่างกัน


Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์งานวันวิทยาศาสตร์ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี

Application
   นำความรู้ที่ได้มาใช้สอนและบูรณาการเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ

Evaluating teacher
  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อมูลในการเข้าร่วมกิจกรรม

Classroom Evaluation
  สถานที่กว้าง สะอาด เหมาะกับการจัดกิจกรรม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น