วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 16 24/11/2015





Knowledge

นำเสนอบทความ
นางสาวรัชดา เทพเรียน เรื่อง หลักสูตรปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
(Science Preschool is necessary or not) สสวท
สำรวจว่าครูสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ?
              การสอนวิทยาศาสตร์ ครูไม่ควรสอนเนื้อหาด้วยวิธีการบอกเล่า เพราะไม่ใช่วิธีการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้คือการให้เด็กลงมือปฏิบัติ ได้รู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองโดยมีครูคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำ

นางสาวเปมิกา ซุติมาสวรรค์ เรื่อง วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
(Science for young children) ผู้แต่ง ผศ.ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
             วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ  เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสำรวจเกี่ยวกับ เรื่องหิน ดิน อากาศ ท้องฟ้า สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กเริ่มมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศสตร์ ดังนั้นการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก

นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เลขที่3  
บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามที่กำหนดให้ 3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มี3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มี3 ประการดังนี้ 1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  ของตนเองอย่างเหมาะสม 2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

นางสาว จงรักษ์  หลาวเหล็ก เลขที่1
วิจัย เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ื            การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวบยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัยการสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์

ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ขอบเขตของการวิจัย    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์

     จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้

1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ

นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2
ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ

จัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด

ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สมมติฐาน 

       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะ

กระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง


กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน 

ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

วิธีดำเนินการวิจัย

1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.เก็บรวบรวมข้อมูล

4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
                                                                                                                 
 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา

 2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัย

      จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการ

วิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการ

ทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะ

สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น


นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก 

เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์ สุมาลี หมวดไธสง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย

ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ขอบเขตของการวิจัย
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 
ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์

จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้
1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้น
โดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมี
ความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น
 และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 

2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาท
สัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน 
ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแก
สัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ

นางสาวกรกช เดชประเสริฐ 
เรื่อง พ้ฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
           ครูนำไข่ 2 ใบ มาโยนขึ้นพร้อมกันให้เด็กสังเกตว่าหลังจากโยนไข่
แล้วเกิดอะไรขึ้น เด็กสังเกตเห็นว่า ไข่ใบ 1 แตก อีกใบ 1 ไม่แตก และสังเกตเห็นอีกว่าไข่ที่ไม่แตกนั้นคือไข่ต้ม


Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ บทความ  วิจัย  โทรทัศน์ครู  ที่ตนเองได้ไปหามาสรุปให้อาจารย์และเพื่อนในห้องฟัง
technique 
  ให้นักศึกษานำเสนอ บทความ  วิจัย  โทรทัศน์ครู  แล้วอาจาร์ยใช้วิธีถามตอบ ดูว่านักศึกษาเข้าใจหรือไม่

Classroom Evaluation

   ห้องเรียนสะอาดกว้าง อุปกรณ์การเรียนเหมาะกับการใช้สอย

Self Evaluation
   มาเรียนสาย ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย แต่งกายเรียบร้อย
  
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
   
Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย









Recorded Diary 15 21/11/2015





Knowledge

อาจารย์ให้ออกไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558

Science in traditional toys ของเล่นภูมิปัญญา

               เราไม่อาจทราบได้ว่าของเล่นในยุคดึกดำบรรพ์แบบแรกๆ คืออะไร และใครเป็นผู้คิดทำขึ้น ประวัติความเป็นมาที่พอจะทราบได้  ก็ได้จากอารยธรรมที่หลงเหลืออยู่ของชาวอียิปต์โบราณ
             - ลูกบอลและลูกข่างอียิปต์โบราณมีอายุราว 1250 ปีก่อนคริสตศักราช
             - ตุ๊กตาเสือจากเมืองทีฟส์ อายุประมาณ 1000 ปีก่อนคริสกาล ตาทำด้วยแก้ว ฟันทำด้วยสำริด และปากเปิด ปิดได้
             - ภาพเขียนจีนในตอนต้นของศตวรรษที่ 19 แสดงให้เห็นว่าการเล่นว่าวที่เป็นทั้งของเล่นเด็กและการพักผ่อนในยามว่างของผู้ใหญ่
             - หมีเทดดี้แบร์ตัวแรก สูงประมาณ 7 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อ ค.. 1907
                 - ตุ๊กตา ลูกบอลและตัวหมากที่มีอายุระหว่าง 1250 – 1000 ปีก่อนคริสกาล
             - รถม้าทำด้วยดินเคลือบจากกรีซ อายุประมาณ 500 ปีก่อนคริสกาล
             - ภาพจากต้นฉบับภาษาเยอรมันปีค.. 1405 แสดงให้เห็นชายหนุ่มกำลังเล่นว่าวบนหลังม้า

ของเล่นกับเด็กไทย (Thai Toys)
           ของเล่นของไทยมีอายุเป็นร้อยปี มีของเล่นหลายชนิด เช่น รูปสัตว์ต่างๆ ทำจากหินและดินเผา  เคลือบน้ำเคลือบเป็นของเล่นในสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยามีของเล่นดินเผาที่ไม่มีการเคลือบ มีรูปร่างสัตว์ต่างๆ และรูปเด็กหญิง-ชายกำลังอุ้มไก่เล่น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ของเล่นสำหรับเด็กไทยมีความหลากหลายในวัสดุและรูปแบบของการเล่น เช่น ตัวตลกเป็นดินเผา ดิบๆ ดำๆ มีแกนตรงหัว เมื่อตุ๊กตาโดนแขย่าหัวจะสั่นไปมาได้

เล่นเพื่อการเรียนรู้ (Learning through Play)
ของเล่นคือ
ของที่มีไว้ใช้ในการเล่น เพื่อความสนุกสนาน
และเพลิดเพลิน ของเล่นมีประโยชน์
ทำให้เกิดจินตนาการ ฝึกสมอง
ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้น

พัฒนาการต่างๆ ของร่างกาย

ลูกข่างหมุนและตั้งได้อย่างไร? (What Keeps Spinning Tops Upright?)




                     ปั่นลูกข่างด้วยมือหรือใช้เชือกเหวี่ยงลูกข่างหมุนที่แกนกลางขนาดเล็ก ตัวลูกข่างจึงมีน้ำหนักมาก ทำให้มีความเฉื่อย จึงหมุนได้นานและขณะหมุนเกิดแรงที่ตั้งฉากกับทิศทางการหมุนจึงทำให้ลูกข่างทรงตัวอยู่ได้
ทำไมลูกข่างจึงหยุดหมุน? (Why Does A Spinning Top Stop?)
                      การที่ลูกข่างหยุดหมุนเกิดจากแรงต้านอากาศในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุน แรงเสียดทานของพื้นกับปลายลูกข่าง และแรงดึงดูดของโลก 3 แรงนี้ทำให้ลูกข่างหมุนช้าลงจนหยุดหมุนในที่สุด


เล่นไปทำไม? (Why  playing is important?)
            นักวิชาการและนักปรัชญาหลายท่านได้เคยได้คำนิยามการเล่นไว้ว่า
     
Albert Einstein (อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์) นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า
                                      “…จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้…”
        
Sigmund Freud (ซิกมันด์ ฟรอยด์) ปรมาจารย์ด้านจิตวิเคราะห์
                 “…การเล่นเพื่อให้เด็กได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ หรือความรู้สึกอันไม่ดีต่างๆ ออกมาในทางที่สังคมยอมรับ เพื่อช่วยให้พวกเขาชนะความกลัว…”



เล่นแล้วได้อะไร? (Building Skills with Toys)

การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการในทุกๆด้าน ซึ่งให้เด็กพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ของชีวิต ได้แก่
1. ด้านร่างกาย  การเล่นเป็นการออกกำลังกายอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนากล้ามเนื้อ
2. ด้านจิตใจและอารมณ์  การเล่นทำให้เด็กเกิดจินตนาการ รู้จักคิดและแก้ปัญหาเกิดความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนานและผ่อนคลาย
3. ด้านสังคม  การเล่นกับผู้อื่น จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ผู้คนรอบข้าง รู้จักการแบ่งปัน รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคม
4. ด้านภาษา  เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่น ความสามารถด้านภาษาและการสื่อสารจะถูกพัฒนา
5. ด้านการเรียนรู้  การเล่นแต่ละแบบจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในทักษะที่แตกต่างกันไป ของเล่นบางอย่างฝึกความสามารถด้านการเคลื่อนไหว ในทางกลับกันบางอย่างอาจฝึกในเรื่องของภาษา


ทรัพยากรในการทำของเล่น (Material)


        ส่วนมากจะเป็นวัสดุรอบตัวที่สามารถหาได้ในบริเวณท้องถิ่น มาผสมผสานกับจินตนาการ ผลิตออกมาเป็นของเล่น
   - ผลผลิตจากมะพร้าว (Products from coconut) เช่น ทางมะพร้าว  ใบมะพร้าว  กาบมะพร้าว และกะลามะพร้าว นำมาทำเดินกะลา รถลากกาบมะพร้าว เป็นต้น
  - ไม้ (Wood)  เช่น ไม้มะค่า ประดู่ไม้แดง ไม้ชิงชัน ไม้มะขาม และไม้มะม่วง นำมาแกะเป็นรูปสัตว์ หรือนำมาแกะเป็นลูกข่าง เป็นต้น
  - ไม้ไผ่ (Bamboo) เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ซาง และไผ่บง นำมาทำไม้โถกเถก และว่าว เป็นต้น
  - ผลผลิตจากต้นกล้วย (Products from banana tree)  เช่น ลำต้นกล้วย ใบกล้วย  ทางกล้วย  และเชือกกล้วย  นำมาทำ ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย เป็นต้น
  - เมล็ดของต้นไม้ในท้องถิ่น (Local tree seeds)  เช่น ลูกสะบ้า ลูกยาง ลูกยางนา เมล็ดมะม่วงกะล่อน และเมล็ดกระหล่ำตาแดง นำมาทำลูกข่าง ลูกยางนำมาทำโยนให้หมุนเป็นเกรียว เป็นต้น


เครื่องมือ (Tools and  laborsaving  devices)
                 เครื่องมือที่ใช้ในการทำของเล่นส่วนใหญ่ก็คือเครื่องมือหัตถกรรม เช่น มีดชนิดต่างๆ เลื่อยและเหล็กแหลมที่จะช่วยทุ่นแรงในการทำของเล่น ซึ่งต้องอาศัยฝีมือความประณีต และจินตนาการในการสร้างสรรค์ของเล่นภูมิปัญญาไทย

ความคิดสร้างสรรค์จากการเล่น (Creativity and Play)
                  ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเกินความสามารถที่จะมีได้ แต่เป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความอยากรู้และการลงมือกระทำ เช่น การเล่นของเล่นสามารถสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
ความคิดสร้างสรรค์ของคนเรามีหลายระดับ  เช่น
1. การใช้จินตนาการเพื่อถ่ายทอดหรือแสดงความคิดความรู้สึกของตน เช่น การวาดภาพ
2. การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ หรือสิ่งที่กำหนดให้ เช่น ให้ทำกระเป๋าจากเศษกระดาษ ทำกรงนกจากเถาวัลย์ การคิดเมนูอาหารใหม่ๆ ฯลฯ
3. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดนวัตกรรมที่ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบและมีการทดลอง เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น เตาไมโครเวฟ รถยนต์
4. การสร้างสรรค์หลักการแนวคิดใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างต่างๆ ต้องใช้ทักษะการคิดที่เป็นระบบและซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบการสื่อสารการบินหรือการเดินทางไปสู่อวกาศ


เสียงจากพงไพร


ทำไมแค่เหวี่ยงจักจั่นจึงเกิดเสียง? (How does the sound of Cicada Toy occer?)
                        เสียงของจักจั่นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่เสียดสีกับยางสนปลายแกนไม้ส่งต่อไปยังแผ่นกระดาษ แล้วทำให้อากาศภายในกระบอกที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียง (Soundding Board) สั่นด้วยความถี่ที่เท่ากันกับการสั่นของเชือก
เสียงจะเป็นอย่างไร
* ถ้าไม่มีกระบอก
* ถ้ากระบอกขนาดต่างกัน


Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์งานวันวิทยาศาสตร์ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี

Application
   นำความรู้ที่ได้มาใช้สอนและบูรณาการเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม

Evaluation for classmated
   เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ

Evaluating teacher
  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อมูลในการเข้าร่วมกิจกรรม

Classroom Evaluation
  สถานที่กว้าง สะอาด เหมาะกับการจัดกิจกรรม






Recorded Diary 14 17/11/2015


**ขาดเรียน คัดลอกมาจากนางสาวปรางชมพู บุญชม**




Knowledge

  



ขนมโคเหมาะที่จะทำเป็นฐาน

กระบวนทางวิทยาศาสตร์
กำหนดปัญหา : ทำอย่างไรขนมโคจึงจะกินได้
สมมติฐาน : ใส่ขนมโคในน้ำเดือดจะเกิดอะไรขึ้น
การสังเกต: สี ขนาด รูปทรง


หลักการทางวิทยาศาสตร์
ขนมโค ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว เมื่อนำลงต้มในน้ำ แป้งข้าวเหนียว จะอุ้มน้ำไว้ได้มาก จนถึงระดับหนึ่ง ที่เราเรียกว่าแป้งสุก มวลของน้ำโดยรอบ กับแป้งที่สุกแล้ว เกือบจะเท่ากัน แป้งสุกจึงถูกดันลอยขึ้นมาโดยน้ำร้อนที่จะ ลอยตัวขึ้นบน ได้โดยง่าย (ง่ายกว่าตอนดิบ ที่ยังไม่อุ้มน้ำเต็มที่ 
และลักษณะการอุ้มน้ำของแป้งข้าวเหนียว เป็นการอุ้มเก็บน้ำที่มี การเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุล) จึงเป็นเหตุผลยืนยันได้อีกว่า ทำไมแป้งขนมโค เมื่อสุก จะใส  (ก็แต่ละโมเลกุลของแป้งข้าวเหนียว แทบจะเหมือนลูกโป่งใส่น้ำ) ซึ่งเมื่อดับไฟ ให้อุณหภูมิของน้ำลดลง ขนมโคก็กลับจมลงไปอีก ตามมวลของมัน




ข้าวจี่เหมาะที่จะทำเป็นฐาน


กระบวนทางวิทยาศาสตร์
กำหนดปัญหา : เด็กๆคิดว่าทำอย่างไรให้ไข่ในข้าวจี่กินได้
สมมติฐาน : ข้าวจี่โดนความร้อนจะเกิดอะไรขึ้น
การสังเกต: การเปลี่ยนแปลงของสี






หวานเย็นทำเป็นกลุ่ม

กระบวนทางวิทยาศาสตร์
กำหนดปัญหา : ทำอย่างไรให้น้ำหวานเป็นน้ำเย็น
สมมติฐาน : เมื่อคนหรือขยับกะละมังน้ำเย็นจะเกิดอะไรขึ้น
การสังเกต: การเปลี่ยนแปลงจากของเหลวเป็นของแข็ง

นางสาวกมลรัตน์ มาลัย นำเสนอโทรทัศน์ครู
เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การวิเคราะห์ การสื่อความหมาย การตั้งสมมติฐาน โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง ให้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทดลองเพื่อหาว่าอะไรลอยได้บ้าง




Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษานำอุปกรณ์มาทำ ข้าวจี่ ขนมโคและหวานเย็นโดยให้นักศึกษาลงมือทำเองและให้สังเกตขั้นตอนการทำพร้อมสรุปการทำในแต่ละกิจกรรม

Application
   นำความรู้ที่ได้มาสอนในการทำ Cooking ให้กับเด็กปฐมวัยและทำให้เด็กรู้จักการสังเกตวิเคราะห์และรู้จักการแก้ปัญหา


Evaluation for classmated
   เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลามีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมมาเป็นอย่างดี ให้คำแนะนำอย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรม

Classroom Evaluation
  ห้องกว้าง สะอาด อุปกรณ์สะดวกต่อการใช้สอย







Recorded Diary 13 10/11/2015


**ขาดเรียน คัดลอกมาจากนางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์**



Knowledge 

    อาจารย์ให้ทำทาโกยากิและวาฟเฟิล


การทำวาฟเฟิล  (Waffen)




                                                      เตรียมอุปกรณ์ในการทำวาฟเฟิล

            อุปกรณ์มี ดังนี้

               1. เครื่องทำวาฟเฟิล
               2. จาน ชาม ช้อน ซ้อนสำหรับการทำวาฟเฟิล
               3. แป้งสำเร็จรูปสำหรับทำวาฟเฟิล
               4. น้ำ
               5. นม
               6. เนย
               7.ไข่
               8. ข้าวโฟด
               9. สตอเบอร์รี่
               10.ช็อกโกแลต




ขั้นตอนการทำ 

1. นำแป้ง ไข่ไก่ น้ำและนมใส่ลงไปในถ้วย ตีส่วนผสมให้เข้ากัน



2. เมื่อตีวัตถุดิบเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็กและทาเนยที่เตาแล้วหยอดวัตถุดิบในถ้วยลงไป 




3. เมื่ออบจนได้ที่แล้วจึงนำมารับประทาน พร้อมตกแต่งให้สวยงาม



การทำทาโกยากิ  (Takoyaki ) 



เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำทาโกยากิ

              
                อุปกรณ์มี ดังนี้

                  1.ข้าว
                  2ไข่.
                  3.ต้นหอม
                  4.ปูอัด
                  5.ซอลปรุงรส
                  6.ซอสมายองเนส
                  7.เนย
                  8.จาน
                  9.ช้อน 
                  10.มีด
                  11.เตาสำหรับทำทาโกยากิ




ขั้นตอนการทำ 

1.ตักข้าวสวยใส่ถ้วย 3 ช้อนโต๊ะและตักไข่ที่ต๊อกไว้ให้ 1 ทับพีพร้อมหันหอมและปูอัด พอประมาณ







2. ทาเนยที่หลุมทอดทาโกยาทิจากนั้นนำส่วนที่เตรียมเสร็จแล้วลงไปทอดจนสุก 



3. นำมารับประทาน พร้อมตกแต่งให้สวยงาม







Skill
   อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาทำ ทาโกยากิ และวาฟเฟิลโดยให้นักศึกษาลงมือทำเองและให้สังเกตขั้นตอนการทำพร้อมสรุปการทำในแต่ละกิจกรรม

Application
   นำความรู้ที่ได้มาสอนในการทำ Cooking ให้กับเด็กและทำให้เด็กรู้จักการสังเกตและการแก้ปัญหา


Evaluation for classmated
   เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลามีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมมาเป็นอย่างดี

Classroom Evaluation
   ห้องเรียนสะอาดเย็นสบาย