วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 9, 13/10/2558






Knowledge

นำเสนอบทความ

นางสาวสุทธิกานต์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
 

         กิจกรรม นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยทำให้เด็กได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า
โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?

 เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
สสวท.ได้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ จึงจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยให้กับเด็กซึ่งมีกิจกรรมดังนี้

1. กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

2. กิจกรรม “โมบายเริงลม” พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็ก ๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย
          
 
นางสาวสุทธิณี โนนบริบูณร์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง

   การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เด็กจะได้เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งอย่างปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ผู้ปกครองยังได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆนอกจากสนุกสนานแล้ว เด็กยังจะได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถามการคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

นางสาวเจนจิรา
 เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก(Teaching Children about Magnetic Force)

      แม่เหล็กเป็นเรื่องที่เด็กสนใจและเป็นเรื่องที่แปลก เพราะนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วยตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่ใหญ่เข้าไปหาแม่เหล็ก

ลำดับขั้นตอนการทดลองวิทยาศาสตร์






Skill
   
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความและให้ความรู้เพิ่มเติมต่อบทความนั้น และให้นักศึกษานำของเล่นมาช่วยกันคิดวิเคราะห์หาคำตอบร่วมกับอาจารย์โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดพร้อมหาข้อสรุป

วิธีการสอน
   ให้นักศึกษาออกมาพูดถึงงานที่ตัวเองได้รับผิดชอบว่ามีอะไรบ้าง แล้วให้ดูศึกษาของเล่นของเพื่อนอีกกลุ่มว่ามันคืออะไร อยู่ในวิทยาศาสตร์เรื่องอะไร

Classroom Evaluation

   ห้องเรียนสะอาดกว้าง อุปกรณ์การเรียนเหมาะกับการใช้สอย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย 
  
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ทำงานมาส่งตรงเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย
   
Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย









Recorded Diary 8, 6/10/2558





The knowledge

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น
    เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กจัดเป็นการเล่นของเล่นโดยการทดลอง

1.เรื่องแรงโรยตัว เป็นของเล่นเกี่ยวกับการทำนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ เมื่อบีบขวดทำให้หลอดที่มีอากาศอยู่ข้างในเข้าไปแทนที่น้ำหลอดจึงจมลง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศ + แรงดันอากาศ


2.เรื่องเลี้ยงลูกด้วยลม เป่าให้ลูกบอลลอย ใช้หลอดเป่าลมประคองวัตถ

3.ถุงพลาสติกมหัศจรรย์ ใช้ดินสอทิ่มถุงพลาสติก น้ำไม่สามารถไหลออกได้ เนื่องจากเนื้อพลาสติกเกิดการขยายตัวขึ้น

4.ความดันยกของ เราสามารถยกของต่างๆได้อย่างไร การทดลองคือ นำเอาวัตถมาวางทับุงพลาสติกจากนั้นเป่าลมเพื่อทำให้พองจึงจะสามารถทำให้วัตถุลอยขึ้นได้




นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด 
        เรื่อง วัยอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว

     
 ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบโรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน


นางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว  
         เรื่อง นารีวุฒบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

           บ้านวิทยาศาสตร์หนูน้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตและคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลตัวอย่างการทดลองตัวทำละลาย ในการทดลองครูจะถามเด็ก ๆ ว่าอุปกรณ์ที่วางอยู่เรียกว่าอะไรและถามถึงประสบการณ์เดิมของเด็กให้เด็กได้อธิบาย จากนั้นเริ่มการทดลอง โดยมีเกลือ น้ำตาลและทราย และจะให้เด็กสังเกตว่าทั้ง 3 อย่างนี้มีตัวไหนสามารถละลายน้ำได้บ้าง ให้เด็กตอบ ครูจะเป็นผู้เฉลยหลังจากที่เด็กได้ตอบคำถามแล้วตัวอย่างการทดลองจมหรือลอย  โดยมีทดลองแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำกับน้ำมัน และทรายกับน้ำตาลและน้ำ แล้วจึงตั้งคำถามว่าทำไมน้ำมันถึงลอยน้ำได้ แต่ทำไมทรายและน้ำตาลถึงจมน้ำ



ทำกิจกรรมกลุ่ม  

จัดทำหัวข้อที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเเบ่งตามหน่วยทั้ง 4 หน่วย

หน่วยที่ 1  : ตัวเด็ก

หน่วยที่ 2  : เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

หน่วยที่ 3 : บุคคลเเละสานที่


หน่วยที่ 4  : ธรรมชาติรอบตัว

กลุ่มของดิฉันได้หน่วย : ตัวเด็กเรื่องร่างกายของฉัน




Skill
          การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นฝึกคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับของเล่นที่เราหยิบมาการปรับให้ของเล่นในวิทยาศาสตร์มีความยืดหยุ่นเเละเหมาะกับการเล่นได้หลากหลายรูปแบบ

วิธีการสอน
           ให้นักศึกษาระดมความคิดกับเรื่องที่กลุ่มตัวเองได้รับมอบหมาย ให้แรกเป็นความคิดซึ่งกันและกัน

Classroom Evaluation
          ห้องเรียนสะอาดกว้าง อุปกรณ์การเรียนเหมาะกับการใช้สอย

Self Evaluation
         มาเรียนตรงเวลา ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย 
  
Evaluation for classmated
         เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ทำงานมาส่งตรงเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย
   
Evaluating teacher
          อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย